วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเขียนเว็บเพจด้วยภาษาHTML



ในอดีต การที่จะสร้างเว็บเพจสักหน้าให้มีความสวยงามดูเป็นเรื่องที่ยากและยังต้องจดจำคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมอย่างมากมาย ทำให้ผู้ใช้ไม่ค่อยนิยมที่จะศึกษาและพยายามทำเว็บเพจด้วยตนเอง โดยส่วนใหญ่จะไปจ้างบริษัทต่าง ๆ ที่มีโปรแกรมเมอร์ฝีมือดีเขียนให้ แต่ปัจจุบันมีโปรแกรมสำเร็จรูปที่ช่วยในการสร้างเว็บเพจของตัวเองได้แล้ว การสร้างเว็บเพจในปัจจุบันสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

             1. สร้างขึ้นด้วยตนเอง โดยการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของภาษา HTML แล้วสั่งงานผ่านทางโปรแกรม Text Editor เช่น Notepad
             2. สร้างจากโปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไป โดยใช้โปรแกรมต่าง ๆ ที่มีความสามารถในการสร้างเว็บเพจ ซึงปัจจุบันมีให้เลือกใช้อย่างมากมาย เช่น FrontPage, Dreamweaver หรือแม้แต่โปรแกรม Microsoft Office ก็สามารถสร้างเว็บเพจได้ ผู้ที่ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปพวกนี้ไม่จำเป็นต้องรู้คำสั่งต่าง ๆ ของภาษา HTML ให้ยุ่งยากเลย เพราะโปรแกรมเหล่านี้จะทำการเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ ที่ทำไว้ให้เป็นภาษา HTML โดยอัตโนมัติ                           

1. การสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML 

             ภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาแรกที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เพื่อให้ข้อมูลที่เขียนไปแสดงผลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในลักษณะของข้อความ รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ ภาษา HTML เป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้ สามารถกำหนดรูปแบบและโครงสร้างได้ง่าย ทำให้ได้รับความนิยมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้น และตอบสนองต่องานด้านกราฟิกมากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรมภาษา HTML รุ่นใหม่ ๆ มีข้อดีต่างๆ เพิ่มขึ้นมากมาย เช่น

  - สามารถแสดงผลบนเว็บเบราว์เซอร์ทุกตัวที่สนับสนุน HTML เช่น Microsoft Internet Explorer, Netscape, American Online เป็นต้น 
 - HTML ที่ถูกบันทึกใน Text Editor จะมีชนิดของไฟล์เป็น HTM สำหรับระบบปฏิบัติการ DOS และจะมีชนิดของไฟล์เป็น HTML หรือ HTM ในระบบปฏิบัติการ Windows หรือ ระบบปฏิบัติการ Unix
 - สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเพจทั่วไปได้ง่าย และไฟล์ที่ได้จะมีขนาดเล็ก เช่น เมื่อเขียนโปรแกรม HTML จาก Notepad แล้วสามารถนำไปเปิดแก้ไขหรือตกแต่งเพิ่มเติมในโปรแกรม FrontPage หรือ Dreamweaver และโปรแกรมอื่น ๆ ได้ อย่างสะดวกและรวดเร็ว


2. หลักการสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML


              การจะสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML ได้นั้นจะต้องมีเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจอยู่ 2 อย่าง คือ เท็กซ์เอดิเตอร์ (Text Editor) และเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser)             

              1. เท็กซ์เอดิเตอร์ (Text Editor) คือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการกำหนดข้อความ และรูปแบบคำสั่งต่าง ๆ ของภาษา HTML ซึ่งปัจจุบันผู้เขียนโปรแกรมส่วนใหญ่จะใช้โปรแกรม Notepad ในการเขียนโปรแกรม HTML เป็นหลัก
              2. เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) คือส่วนที่ใช้สำหรับแสดงผลลัพธ์ของเอกสารที่เขียนด้วยภาษา HTML เหมือนกับการคอมไพล์ (Compiled) หรือ รัน (Run) โปรแกรมภาษาทางคอมพิวเตอร์ ทั่ว ๆ ไป
              3. โครงสร้างของภาษา HTMLการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา HTML มีส่วนประกอบทีสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นข้อความที่จะพิมพ์ และส่วนที่เป็นคำสั่ง ส่วนที่เป็นคำสั่งที่ใช้ในการจัดการรูปร่างและรูปแบบของตัวอักษรหรือเอกสารจะเรียกว่า แท็ก (TAG) และส่วนที่เป็นคำสั่งแท็ก (TAG) นี้จะถูกเขียนอยู่ในเครื่องหมาย< > ทุกคำสั่ง เช่น <BR>, <BODY>, <HEAD> เป็นต้น
               รูปแบบของแท็ก <TAG> แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
               1. รูปแบบคำสั่งที่มีเพียงคำสั่งเดียวหรือมีเพียงแท็ก (TAG) เดียวก็สามารถใช้งานได้ เช่น <BR>
               2. รูปแบบคำสั่งที่เป็นสองส่วนหรือแท็กคู่ คือมีส่วนเริ่มต้นและต้องมีส่วนจบของคำสั่งถึงจะสามารถทำงานได้สมบูรณ์ โดยส่วนจบของแต่ละคำสั่งจะมีเครื่องหมาย Slash ( / ) ไว้หน้าแท็ก (TAG) คำสั่งนั้น เช่น <HTML>…………..</HTML>
               3. การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา HTML จะมีโครงสร้างหลักและการจัดวางคำสั่งหลักที่เป็นมาตรฐานเหมือนกันทั่วโลก โดยจะประกอบด้วยคำสั่งหลัก ๆ อยู่               4 คำสั่งด้วยกันดังนี้
               1. <HTML>……….</HTML> เป็นคำสั่งหลักที่ทำหน้าที่บอกจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเอกสาร HTML               2. <HEAD>……….</HEAD> เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่กำหนดส่วนหัวเรื่อง               3. <TITLE>……….</TITLE>เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดข้อความที่ต้องการนำมาแสดงผลบนแถบ Title bar คำสั่งนี้จะอยู่ภายในคำสั่งส่วน <HEAD>……….</HEAD> โดยกำหนดความยาวของตัวอักษรไม่เกิน 64 ตัวอักษร               4. <BODY>……….</BODY>เป็นคำสั่งที่กำหนดข้อความและรูปแบบของคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับปรับแต่งเอกสารที่จะนำเสนอออกทางจอภาพ









4. วิธีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา HTML เบื้องต้น
                 ถ้าต้องการแสดงข้อความทางอินเทอร์เน็ตว่า “สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับสู่เว็บเพจ ครูนพดล มุสิกปาน” และแสดงข้อความบนแถบ Title Bar ว่า “ตัวอย่างการสร้างเว็บเพจหน้าแรก” ให้เปิดโปรแกรมที่ใช้สำหรับเขียน HTML ในที่นี้ใช้โปรแกรม Notepad ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
ขั้นตอนในการสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML                    

1.คลิกที่ Start                    
2. เลือก Program                   
3. เลือก Accessories                    
4. เลือก Notepad 
                 จะปรากฏรูปแบบดังนี้












ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมโครงสร้างหลักของภาษา HTML





 4. วิธีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา HTML เบื้องต้น

                 ถ้าต้องการแสดงข้อความทางอินเทอร์เน็ตว่า “สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับสู่เว็บเพจ ครูนพดล มุสิกปาน” และแสดงข้อความบนแถบ Title Bar ว่า “ตัวอย่างการสร้างเว็บเพจหน้าแรก” ให้เปิดโปรแกรมที่ใช้สำหรับเขียน HTML ในที่นี้ใช้โปรแกรม Notepad ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
ขั้นตอนในการสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML

                     1. คลิกที่ Start
                     2. เลือก Program
                     3. เลือก Accessories
                     4. เลือก Notepad







  5. เมื่อเปิดโปรแกรม Notepad ได้แล้วให้พิมพ์คำสั่งต่าง ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้





  6. เมื่อพิมพ์ข้อมูลต่าง ๆ เสร็จให้จัดเก็บข้อมูลโดยคลิกที่เมนู File เลือก Save

  7. ในการจัดเก็บครั้งแรกโปรแกรมจะขึ้นกรอบมาให้ตั้งชื่อให้กับเอกสารดังตัวอย่าง ในรูปภาพให้เลือกที่เก็บข้อมูลในช่อง Save in : ว่าจะเก็บไว้ในแผ่นดิสก์ หรือในฮาร์ดดิสก์ และตั้งชื่อให้กับเอกสารในช่อง File name : ในที่นี้ต้องการจัดเก็บในไฟล์ที่ชื่อว่า TEST เมื่อพิมพ์ชื่อเสร็จแล้ว อย่าลืมพิมพ์ส่วนขยายของไฟล์ให้เป็น HTML ด้วย ดังตัวอย่างนี้ TEST.HTM เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม Save 







 8. เรียกดูผลลัพธ์จากการเขียนเว็บเพจนี้บนเว็บเบราว์เซอร์ วิธีเรียกใช้มีหลายวิธี ดังตัวอย่างต่อไปนี้

วิธีที่ 1 คลิกที่ Start เลือก Run คลิกที่ปุ่ม Browse... 
            1) เลือกที่เก็บไฟล์ HTML ที่เก็บไว้ในช่อง Look in :
            2) ในช่อง Files of type : เลือกเป็นแบบ All Files ถึงจะมองเห็นเอกสารที่เป็น HTML
            3) คลิกเลือกชื่อไฟล์ที่ต้องการ
            4) คลิกที่ปุ่ม Open
             คลิกที่ปุ่ม OK เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเรียกโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ขึ้นมาพร้อมทั้งแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลตามที่ต้องการเขียน



แสดงชื่อสีที่ Internet Explorer 


AQUA
BULE
GRAY
LIME
NAVY
PURPLE
SILVER
WHITE (สีขาว)
BLACK
FUCHSIA
GREEN
MAROON
OLTVE
RED
TEAL
YELLOW
     LINK       =    สีของตัวอักษรก่อนมีการคลิก
     ALIGN    =    สีของตัวอักษรขณะถูกคลิก
     VLINK    =    สีของอักษรหลังจากคลิกแล้ว 



การสร้างสีสันให้กับเว็บไซต์

ผลการแสดง ที่เกิดขึ้น บน เว็บเพจ เราจะพบว่าเอกสาร ทั่วไปแล้วตัวอักษร ที่ปรากฎ บนจอภาพ จะเป็น ตัวอักษรสีดำ 
บนพื้น สีเทา ถ้าเรา ต้องการ ที่จะ เปลี่ยนสี ของตัวอักษร หรือ สีของ จอภาพ เราสามารถ ทำ ได้โดย การกำหนด แอตทริบิวต์ (Attribute) ของตัวอักษร สิ่งที่ต้องการนี้ จะเป็น กลุ่มตัว เลขฐาน 16 จำนวน 3 ชุด โดยชุดที่ หนึ่ง ทำหน้าที่ แทนค่าสีแดง ชุดที่สอง ทำหน้าที่ แทนสีเขียว และชุดที่สาม ทำหน้าที่แทนสี น้ำเงิน ข้อมูล ในตาราง ต่อไปนี้จะแสดง สีพื้นฐาน และรหัสสี ที่สามารถแสดงได้ทุกเว็บเพจ 



ในบางครั้งถ้าเราไม่ต้องการใส่รหัสสีเป็นเลขฐานเราก็สามารถใส่ชื่อ สีลงไปได้เลย ตัวอย่างต่อไปนี้

สีของพื้นฉากหลัง 
รูปแบบ BGCOLOR=#สีที่ต้องการ
ตัวอย่าง <BODY BGCOLOR="#FF0000"> 
เราใช้ BGCOLOR=#สีที่ต้องการ ให้เป็นส่วนหนึ่งของ <BODY> ซึ่งจะทำให้เกิดสีตามที่เราเลือก ลักษณะเป็นฉากสีอยู่ข้างหลัง
สีของตัวอักษรบนเว็บ 
รูปแบบ Text=#รหัสสี
ตัวอย่าง <BODY TEXT="#00FF00">
เรากำหนดเช่นเดียวกับการทำสีของพื้นฉากหลังโดยให้เป็นส่วน หนึ่งของ <BODY> แต่ในการใส่รหัสสีนั้นเร าต้องดู ให้เหมาะสมกับฉากหลังด้วยเช่น <BODY TEXT="#00FF00"> ในการ ทำสีของ ตัวอักษรนี้สีจะปรากฎบนเว็บเปราเซอร์ เป็นสีเดียวตลอด


สีของตัวอักษรเฉพาะที่ 
รูปแบบ <FONT COLOR="#สีที่ต้องการ">...</FONT>
ตัวอย่าง <font color="#FF0000">สีแดง</font> 
คำสั่งนี้เราใช้ในการเปลี่ยนสีของตัวอักษรในส่วนที่เราต้องการให้เกิดสีสันแตกต่างไปจากสีตัวอักษร อื่น ๆ เช่น <FONT COLOR="#FF0000">สีแดง</FONT>ตัวหนังสือคำว่าสีแดงก็จะเป็นสีแดงตามที่เราต้องการทันที


สีของตัวอักษรที่เป็นจุดคลิกเมาส์
รูปแบบ LINK="#รหัสสี" ALINK="#รหัสสี" VLINK"#รหัสสี"
ตัวอย่าง <BODY BGCOLOR="000000" TEXT="#F0F0F0" LINK="#FFFF00" ALIGN="#0077FF" VLINK="#22AA22">
กำหนดอยู่ในส่วนของ BODY โดยกำหนดให้
  LINK       =    สีของตัวอักษรก่อนมีการคลิก
  ALIGN    =    สีของตัวอักษรขณะถูกคลิก
  VLINK    =    สีของอักษรหลังจากคลิกแล้ว 


รูปแบบ ของตัวอักษร






ในบทนี้ เราจะมาทราบถึงวิธีการทำแบบตัวอักษรหลาย ๆ แบบ เช่น   ตัวหนา   ตัวเอน    ตัวใหญ่  ตัวเล็ก
ซึ่งลักษระต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เว็บเพจ ของเราสวยงามยิ่งขึ้น
หัวเรื่อง 
รูปแบบ <Hx>ข้อความ</Hx>
ตัวอย่าง <H1>หัวข้อใหญ่สุด</H1>
ในการกำหนดขนาดให้หัวเรื่องนั้นมีการกำหนด ไว้ 6 ระดับตั้งแต่ 1 - 6 โดย x แทนตัวเลขแต่ละลำดับโดย H1 มีขนาดใหญ่ที่สุด H6 เล็กที่สุดเมื่อต้องการใช้หัวเรื่องที่มีขนาดตัวอักษรเท่าใดเขียนอยู่ระหว่าง <Hx>....</Hx>

ขนาดตัวอักษร
รูปแบบ <FONT SIZE=x>ข้อความ</FONT>
ตัวอย่าง <FONT SIZE=2>bcoms.net</FONT>
เราสามารถกำหนดขนาดของตัวอักษรให้แตกต่างกันได้ ภายในบรรทัดเดียวกัน โดยเราใช้ <FONT SIZE=value> มากำหนด โดยที่ value เป็นตัวเลขแสดงขนาด ตัวอักษร 7 ขนาด ตัวเลขยิ่งมาก ยิ่งมีขนาด ใหญ่ ตั้งแต่ -7 ไปจนถึง +7 
ตัวหนา (Bold)
รูปแบบ <B>ข้อความ</B>
ตัวอย่าง <B>bcoms.net</B>
จะทำให้ข้อความที่อยู่ใน <B>....</B> มีความหนาเกิดขึ้น เช่น bcoms.net

ตัวเอน (Itatic)
รูปแบบ <I>ข้อความ</I>
ตัวอย่าง <I>bcoms.net</I>
ทำให้ข้อความที่อยู่ใน<I>....</I> เกิดเป็นตัวเอนขึ้น เช่น bcoms.net
ตัวขีดเส้นใต้ (Underline)
รูปแบบ <U>ข้อความ</U>
ตัวอย่าง <U>bcoms.net</U>
ทำให้ข้อความที่อยู่ใน <U>.....<U> มีเส้นขีดอยู่ใต้ตัวอักษรเกิดขึ้น เช่น bcoms.net
ตัวอักษรมีขนาดคงที่ (Typewriter text)
รูปแบบ <TT>ข้อมความ</TT>
ตัวอย่าง <TT>bcoms.net</TT>
ทำให้ ข้อความ ที่อยู่ใน<TT>.....</TT> มีลักษณะเป็น fixed space เกิดขึ้น เช่น bcoms.net
แบบของตัวอักษร
รูปแบบ <FONT FACE="font name>ข้อความ</FONT>
c <FONT FACE="AngsanaUPC">bcoms.net</FONT>
Font name เป็นชื่อของ Font ที่เราต้องการให้เป็น เช่น <FONT FACE="AngsanaUPC"> bcoms.net</FONT> และเราสามารถใส่ชื่อ Font หลาย ๆ ตัวได้เพื่อบางครั้ง Browser ไม่มี Font ตามต้องการโดยให้คั้นด้วยตัว (,) 
ขนาด Font ทั้งเอกสาร
รูปแบบ Basefont size="X">
ตัวอย่าง <Basefont size=3>

เป็นการกำหนดขนาดของตัวอักษรในโฮมเพจให้มีขนาด เท่ากันทั้งเอกสาร เพื่อสะดวกเราจะได้ไม่ต้องกำหนดบ่อย ๆ ปกติแล้วจะกำหนดขนาดเป็น 3 โดยไม่ต้องมีตัวปิดเหมือนคำสั่งอื่น ๆ (X แทนตัวเลข)
ตัวอักษรแบบพิเศษ
รูปแบบ
          <      แทนด้วย     &lt;
          >      แทนด้วย     &gt;
          &     แทนด้วย     &amp;
          "      แทนด้วย     &quot;
   เว้นวรรค แทนด้วย     &nbsp;
ตัวอย่างเช่น &quot;bcoms.net&quot; จะเป็น "bcoms.net"




การจัดรูปแบบโฮมเพจ



ในการเขียนคำสั่งเพื่อให้แสดงผลด้วยเว็บเบราเซอร์การกด ปุ่ม Enter ที่แป้นพิมพ์เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ในขณะที่สร้าง ไฟล์นั้นยังไม่มีโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวใดรู้จักคำสั่งที่ขึ้นบรรทัดใหม่ที่เกิดจาก การกดแป้นพิมพ์เลยดังนั้น เราจึง ต้องมี การเขียนคำสั่งขึ้นซึ่งในบทนี้เราจะมารู้ถึงคำสั่งที่ใช้ใน การกำหนด รูปแบบต่างเพื่อให้ เว็บเพจ มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น 


การขึ้นบรรทัดใหม่

รูปแบบ <BR>

เป็นคำสั่งสำหรับการสั่งให้แสดงผลในบรรทัดใหม่ให้ใส่คำสั่งนี้ ในตำแหน่งที่เราต้องการ ให้การแสดงผลข้อมูลนั้นขึ้นบรรทัดใหม่

ย่อหน้าใหม่ 

รูปแบบ <P ALIGN=align type>ข้อความ</P>

เราจะใช้คำสั่งนี้เมื่อต้องการ ขึ้นบรรทัดใหม่เหมือน<BR> แต่จะทำการ เว้นบรรทัดใหม่ให้อีกหนึ่งบรรทัด จะใช้คำสั่ง<P>อย่างเดียว ก็ได้ โดยไม่ต้อง มีคำสั่ง ปิด จะไว้หน้าหรือ หลังข้อความที่ต้องการขึ้นก็ได้ แต่ถ้าใช้คำสั่ง <P ALIGN=align type>ต้องมีคำสั่ง ปิด</P> ด้วย โดย align type สามารถ ใช้ CENTER,LEFT หรือ RIGHT ก็ได้ เช่น <P ALIGN=CENTER> ข้อความนี้ ก็จะอยู่ตรงกลาง</P> 

เส้นคั้น
รูปแบบ <HR ALIGN=xx COLOR=xx SIZE=xx WIDTH=xx NOSHADE>
เราสามารถกำหนดตำแหน่ง , สี , ขนาดของความหนา , ความยาว หรือกำหนดแบบเส้นทึบ ก็ได้ โดย

โดย X = ค่าต่าง ๆ เหล่านี้
<ALIGN> = CENTER , LEFT , RIGHT
COLOR = ตามสีที่เราต้องการ เป็นรหัสสี R-G-B
SIZE = เป็นตัวเลข บอกขนาด 1 ถึง 7 และ -1 ถึง -7
WIDTH = กำหนด ความหนา ของเส้นเป็น เปอร์เซนต์
NOSHADE = กำหนด ให้เส้น เป็น เส้นทึบ


การใส่รูปภาพลงในเว็บเพจ





เมื่อเริ่ม เข้าไป ยังโฮมเพจ ของ เว็บไซต์ แต่ละแห่ง บนอินเตอร์เนต สิ่งแรก ที่มัก เป็นที่ ติดตา ของผู้ ใช้ บริการ
ก็คือ การที่ แต่ละ โฮมเพจ จะมี รูปภาพ สวย ๆ แสดง ออกมา มีการ จัดรูปภาพ และข้อความ ที่เป็น ระเบียบ ทำให้อ่าน ง่าย
เข้าใจ เนื้อหา ที่ต้องการ ได้อย่าง รวดเร็ว
ก่อนที่ เราจะ มารู้ ถึงคำสั่ง ในการ ใส่รูปภาพ ลงใน เว็บเพจ นั้น เราต้อง มารู้ จัก เกี่ยวกับ รูปภาพ ที่เรา
จะนำมาใส่ในเว็บเพจเสียก่อน รูปภาพที่จะนำมาใช้ใส่ลงในเว็บเพจ นั้น ส่วนมาก มีนามสกุล เป็น GIF และ JPG ไฟล์
                รูปภาพ แบบ GIF ย่อมาจาก Graphics Interchange Format เป็นไฟล์ ชนิดบิตแมป (Bitmap) เป็นเทคนิค การเก็บภาพ โดยให้ จุดสี(pixet) ต่าง ๆ เรียง ต่อกัน จนเกิด เป็นภาพ ไฟล์ GIF นี้ ส่วนใหญ่ จะนิยม ใช้กับ ภาพถ่าย และภาพการ์ตูน แสดงผลเป็น ภาพนิ่ง แต่ใน ปัจจุบันมี โปรแกรม สำหรับทำ หน้าที่ รวบรวม ภาพ GIF หลาย ๆ ภาพ เข้าเป็น ไฟล์เดียวกัน เมื่อนำ ภาพมา แสดง ทำให้เกิด เป็นภาพ เคลื่อนไหวขึ้น
                 ไฟล์รูปแบบ JPG ย่อมาจาก Joint Photographic Expers Group เป็นไฟล์ใน รูปแบบ ที่ผ่าน กระบวน การบีบย่อย ข้อมูล มาก่อน มีการ นำเอา ข้อมูล ส่วนที่ ไม่สำคัญ ออกไป แล้วทำการ บีบอัด ข้อมูล ในอัตรา ส่วน 10:1 โดยขนาด ของไฟล์ ที่เรา นำมา ใช้งาน นั้น อาจมีขนาด เหลือเพียง 10 - 30 % ของขนาดไฟล์ ก่อนจะมีการ บีบ ย่อ ข้อมูล ขนาดของ การบีบ ข้อมูล มีได้ 3 ระดับ (Hight,Middle,Low Compression) ไฟล์ที่ มีการ บีบย่อ ข้อมูล มากที่สุด จะได้ ไฟล์ที่มีขนาด เล็กที่สุด แต่คุณภาพ ก็ลดลง ตาม ไปด้วย หากต้องการ ภาพที่มี คุณภาพดี ที่สุด ขนาดของ ไฟล์ก็จะ ใหญ่ ที่สุดเช่นกัน
การใส่รูปภาพลงในเว็บเพจ
รูปแบบ  <IMG ALIGN=align-type BORDER=n HEIGHT=n WIDTH=n HSPACE=n VSPACE=n SRC=address ALT=text>
ALIGN           =     align-type(ตำแหน่ง) เป็นการ กำหนด ตำแหน่ง รูปภาพ ถ้าภาพไม่ ใหญ่ ข้อความ                                นั้นจะ อยู่ ที่ตำแหน่ง ส่วนล่าง ของภาพ ทางขวา มือเสมอ เราสามารถ กำหนดได้                                โดยใช้คำต่าง ๆ เหล่านี้
LEFT             =     วางภาพที่ตำแหน่งทางซ้าย
RIGHT          =     วางภาพที่ตำหน่งทางขวา
TOP              =      วางภาพ ที่ตำแหน่ง ด้านบน
MIDDLE       =      วางภาพ ที่ตำหน่ง กึ่งกลาง
BOTTOM     =      วางภาพ ที่ตำแหน่ง ด้านล่าง
BORDER     =       n    เป็นการ กำหนด กรอบให้ รูปภาพ n มีค่ามาก กรอบจะ มีความหนา มากขึ้น
HEIGHT       =       n    เป็นการ กำหนด ความสูง ของภาพ
WIDTH         =      n    เป็นการ กำหนด ความกว้างของภาพ ถ้าต้องกา ให้ภาพได้สัดส่ว ให้กำหน เป็นเปอร์เซนต์ โดยไม จำกัดความสูง
VSPACE     =      n    กำหนด ระยะ ห่างบน ล่างของ ภาพ
HSPACE     =      n    กำหนด ระยะ ห่าง ซ้าย - ขวา ของภาพ
SRC             =      ใส่รูปภาพที่ต้องการลงไป
ALT              =      text   ใส่ข้อควา เพื่อเป็นคำอธิบายรูปภาพที่นำมาวางสำหรับผู้ใช้อินเตอร์เนตแบบเท็กซ์

ข้อสังเกต
 ALIGN ไม่สามารถ กำหนดให้ รูปภาพ ไปปรากฎยังกึ่งกลาง ของจอภาพ ได้ ถ้าต้อง การให้ อยู่ตำแหน่งดังกล่าว ให้ใช้คำสั่ง <CENTER>...<CENTER>การแสดงภาพฉากหลัง
รูปแบบ BACKGROUND="picture"

กำหนด แอตทริบิวต์ BACKGROUND="picture" ในคำสั่งของ <BODY> เช่น <BODY BACKGROUND="hot.gif">




การเชื่อมโยงข้อมูล (Link)


เป็นที่ ทราบดี อยู่ แล้วว่า การที่ อินเตอร์เนต ได้รับความนิยม อย่างกว้างขวางอยู่ทั่วโลกนั้นเป็ ผลมาจากความ สามารถในการ
เชื่อมโยงข้อมูล จากฐานข้อมูล หนึ่ง ไปยังอีก ฐานข้อ มูลหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถ เชื่อมโยงข้อความ ได้ทั้ง จากภายใน แฟ้มเอกสาร ข้อมูลของตัวเอง และแฟ้มเอกสารข้อมูลภายนอกที่ต่างเว็บไซต์กัน
               ข้อความ ที่ถูกกำหนดให้เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลอื่น ๆ บนเว็บเบราเซอร์จะแสดงผลเป็นตัวอักษร ที่มีสีแตกต่างจากอักษรทั่วไป
และอาจจะมี ขีดเส้นใต้ข้อความนั้นด้วย โดยทั่วไป ตัวอักษรที่แสดง ผลอยู่บน เวบเบราเซอร์ จะมีสีดำ ปนขาว (หรือสีเทา) แต่สำหรับ ข้อความ ที่ใช้เป็นตัวเชื่อมข้อมูลนั้นจะเป็นตัวอักษร สีน้ำเงิน หรือ อย่างอื่น ตาม ที่สร้างขึ้นมาเมื่อเลื่อน เมาส์ ไปชี้ที่ ข้อความ ซึ่งมีการ
เชื่อมโยงของรูปแบบ ตัวชี้ จะเปลี่ยนจาก สัญลักษณ์ ลูกศร ไปเป็นรูป มือแทน และที่บริเวณแถบแสดงสถานะด้านล่าง จะแสดงถึงตำแหน่ง
ของจุด หมายที่ ข้อความจะเชื่อมโยงไปให้เราเห็น
 

ประเภทการเชื่อมโยง       -   การเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์
       -   การเชื่อมโยงข้อมูลนอกเว็บไซต์
       -   การเชื่อมโยงข้อมูล FTP 

       -   การเชื่อมโยงข้อมูล E-Mail


การเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์
รูปแบบ <A HREF="ที่อยู่ไฟล์">ข้อความ</A>
ตัวอย่าง <A HREF="tipcomputer.asp">ทิปคอมพิวเตอร์</A>
*** หมายเหตุ ถ้าลิงค์อยุ่คนละโฟลเดอร์ <A HREF="../tipcomputer.asp">ทิปคอมพิวเตอร์</A>

การเชื่อมโยงข้อมูลนอกเว็บไซต์
รูปแบบ <A HREF="้http://www..........">ข้อความ</A>
ตัวอย่าง <A HREF="้http://www.bcoms.net">บีคอม</A>
*** หมายเหตุ คุณสามารถสั่งให้เบราเซอร์เปิดหน้าใหม่ได้โดยกำหนด target="_blank"
ตัวอย่าง <a href="http://www.driverzone.com" target="_blank"> Driver Zone </a>


การเชื่อมโยงข้อมูล FTP
รูปแบบ <FTP://HOSTNAME/FOLDER>ข้อความ</A>
HOSTNAME คือ ชื่อของศูนย์บริการ FTP Server
FOLDER คือ ชื่อไฟล์และไดเรกทอรี่ที่ผู้เข้ารับบริการสามารถเข้าไปใช้งานได้

ตัวอย่าง <A HREF=FTP://bcoms.net/download> Download </a>


การเชื่อมโยงข้อมูล E-Mail
รูปแบบ <A HREF="MAILTO:USERNAME@DOMAINNAME">ข้อความ</A>
ตัวอย่าง <a href="mailto: bcoms_net@hotmail.com">bcoms_net@hotmail.com</a>




การสร้างตาราง

    การสร้างตาราง ลงใน เว็บเพจมีประโยชน์มหาศาล เราสามารถ ประยุกต์ นำไปใช้ได้หลายอย่าง เพื่อเป็นการเพิ่มสีสันความสวยงามของเว็บเพจ การสร้างตาราง ในเว็บเพจก็ไม่แตกต่างจากการสร้างตารางบนแผ่นกระดาษทั่ว ๆ ไป เราเคยทำตารางอย่างไร ก็สามารถสั่งให้เว็บเพจของเรา ทำอย่างนั้นได้ เช่นกัน ต่างกันที่ว่าในเว็บเพจเราไม่สามารถที่จะ นำเอาปากกา ดินสอ ไม้บรรทัด หรืออุปกรณ์ สำหรับเขียนตารางเข้าไปเขียนบนจอภาพได้ เราใช้ นิ้วมือของเรา เป็นผู้พิมพ์คำสั่ง สำหรับสร้างตารางขึ้นมา 
โครงสร้างตาราง

 <TABLE>
 <TR>
<TH>หัวข้อตาราง
<TD>รายละเอียดย่อย
<TR>
<TH>หัวข้อตาราง
<TD>รายละเอียดย่อย
</TABLE> 


คุณสมบัติของตาราง 
<TABLE>
ALIGN=align-type
BACKGROUND=url
BGCOLOR=color
BORDER=n
CELLPADDING=n
CELLSPACING=n
WIDTH=n
HEIGHT=n


<TR>
ALIGN=align-type
BACKGROUND=url
BGCOLOR=color
BORDERCOLOR=color
VALIGN=align-type 



<TH>
ALIGN=align-type
BACKGROUND=url
BGCOLOR=color
BORDERCOLOR=color
COLSPAN=n
ROWSPAN=n
VALIGN=align-type


<TD>
ALIGN=align-type
BACKGROUND=url
BGCOLOR=color
BORDERCOLOR=color
COLSPAN=n
ROWSPAN=n
VALIGN=align-type


ตารางซ้อนตาราง


          มีอยู่ บ่อยครั้งที่เราจำเป็นที่จะต้องสร้างตารางให้มีลักษณะของตารางทับซ้อนกันได้ เพื่อผลทางการแสดงผลข้อมูล
ข้อมูลให้แบบละเอียดของข้อมูลได้มากที่สุด รูปแบบ การเขียน ก็เหมือน กับเมื่อ สร้าง list ซ้อน list นั่นคือ ในส่วน ของ บรรทัด
<TR> จะมี การสร้าง ตาราง ใหม่ <TABLE>.....</TABLE> ก่อนที่ จะมี ตัวเปิด </TR> ในบรรทัด นั้น ๆ 




AB
CD
E


ซึ่งมีโคดดังนี้
<HTML>
<HEAD><TITLE>Table with and Neted tables</HEAD></TITLE>
<BODY>
<H1>Table with and Neted tables</H1>
<TABLE BORDER WIDTH=50%>
<TR><TD>A</TD><TD>B</TR></TR>
<TR><TD><TABLE BORDER WIDTH=100%>
<TR><TD>C</TD><TD>D</TR></TR>
</TABLE><TD>
<TD>E</TD></TR>
</TABLE >
</BODY>
</HTML>

การใส่รูปภาพลงในตาราง
           

รา สามารถ นำรูปภาพ ที่มี อยู่บรรจุ ลงใน ตาราง ที่สร้าง ขึ้นได้ โดย การ บรรจุคำสั่ง สำหรับการ แสดงรูปภาพ <IMG SRC=รูปภาพ>เข้าไป ในส่วน หนึ่งของ ตาราง เช่น
<TABLE BORDER="2" CELLPADDING="5" CELLSPACING="5" WIDTH="60%">
<TR>
<TD VALIGN="bottom" WIDTH="30%"><IMG SRC="Aq.gif" WIDTH="108" HEIGHT="108"></TD>
<TD WIDTH="30%"><IMG SRC="34.gif" WIDTH="20" HEIGHT="20"></TD>
<TR>
<TR>
<TD VALIGN="bottom" WIDTH="30%"><IMG SRC="direc.gif" WIDTH="200" HEIGHT="44"></TD>
<TD WIDTH="30%"><IMG SRC="pencil.gif" WIDTH="50" HEIGHT="50"></TD>
<TR>
</TABLE> 

การปรับขนาดรูปภาพให้พอดีกับตาราง 
               เราเคยเรียน มาแล้ว ว่า เรานั้น สามารถ ปรับขนาด รูปภาพได้ ในการนำ รูปภาพ ใส่เข้า ไปในตาราง เราก็ กำหนด ขนาดของ รูปภาพ กว้าง ยาว ให้เท่ากัน ทุกด้าน จะทำให้ภาพ ที่แสดง ออกมา มีขนาด เท่ากัน เช่น

<TABLE BORDER="2" CELLPADDING="5" CELLSPACING="5" WIDTH="60%">
<TR>
<TD VALIGN="bottom" WIDTH="30%"><IMG SRC="Aq.gif" WIDTH="80" HEIGHT="80"></TD>
<TD WIDTH="30%"><IMG SRC="34.gif" WIDTH="80" HEIGHT="80"></TD>
<TR>
<TR>
<TD VALIGN="bottom" WIDTH="30%"><IMG SRC="direc.gif" WIDTH="80" HEIGHT="80"></TD>
<TD WIDTH="30%"><IMG SRC="pencil.gif" WIDTH="80" HEIGHT="80"></TD>
<TR>
</TABLE> 


การเชื่อมโยงข้อมูลในตาราง
                 เหมือนกับ ข้อมูลที่อยู่ นอกตาราง ข้อมูลที่อยู่ในตาราง ก็สามารถ ไปเชื่อม โยงกับข้อ มูล จากแหล่ง ข้อมูล อื่นได้ เช่น เดียวกัน เมื่อเรานำ ส่วนเชื่อม โยงข้อมูล ทั้งตัว อักษร รูปภาพ หรือผสมกัน ก็ได้ มาบรรจุในตารางเท่านั้น เช่น

<table border=2 cellpadding=5 cellspacing=5 width="50%">
<tbody>
<tr>
<td width="50%"><a href="../index.asp"><img height=20 src="34.gif" width=20 border=0></a></td>
<td width="50%"><a href="../index.asp">กลับไปหน้าแรก</a></td>
</tr>
</tbody>
</table>

การเขียนโปรแกรมhtmlเบื้องต้น